ถังบําบัดนํ้าเสีย คืออะไร ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังแซท นับว่ามีประโยชน์ต่อการใช้งานในกิจวัตรประจำวันของเรามาก หลายคนอาจจะ งง ไม่ทราบว่าไปใช้งานตอนไหน ไม่เคยพบเคยเห็นเจ้าถังนี้มาก่อนเลย ต้องไม่เคยเห็นอย่างแน่นอนเพราะถังบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่แล้วจะฝังอยู่ใต้ดินของบ้าน อาคาร บริเวณที่ตรงกับ ห้องน้ำ หรือ ชักโครก ซึ่งถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปมีหน้าที่ในการบำบัดของเสียหรืออุจจาระ นั้นเอง โดยใช้จุลินทรีย์ด้านในถังกำจัดกากของ ๆ เสีย หรือ ตะกอน ในพื้นที่ก้นถัง ค่อยๆ ย่อยสลาย ทำให้ไม่เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และสามารถบัดบัดน้ำเสียให้สะอาดพอที่จะปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้ โดยตัวถังจะมีบ่อเกรอและบ่อซึมรวมไว้ในตัว ทำให้สะดวกกับการใช้งานมากกว่าบ่อซึม
ถังบําบัดนํ้าเสีย มีกี่ประเภท ?
ด้านในถังบำบัดส่วนใหญ่จะมีระบบในการบำบัดของเสียอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนเกรอะและส่วนกรอง โดยส่วนเกรอะจะเป็นด่านแรกในการรับของของเสีย มีหน้าที่ในการแยกตะกอนและกากของเสียขนาดใหญ่ให้เล็กลงและล่วงลงด้านล่างถังได้ หากแยกตะกอนออกไม่หมดส่วนกรองจะทำหน้าที่กรองตะกอนที่ตกค้างอีกชั้นนึง เพื่อให้จุลินทรียที่อยู่ส่วนล่างถังสามารถกำจัดของเสียได้ เพื่อให้ได้น้ำที่มี ค่าบีโอดี BOD (Biological Oxygen Demand ) ที่สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือบ่อพักต่อไป ซึ่งการใช้งาน ถังบำบัดน้ำเสีย สำเร็จรูป มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
- แบบไม่เติมอากาศ ใช้จุลินทรีย์ในการช่วยกำจัดของเสีย
- แบบเติมอากาศ ใช้ออกซิเจนในการเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อเร่งให้เกิดปฎิกิริยาเคมีทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียมากกว่าแบบไม่เติมอากาศ
วิธีคำนวณ ขนาด ถังแซท ถังบำบัด อย่างไรให้เหมาะสม
ขั้นตอนการคำนวนหาปริมาณหรือจำนวนลิตรที่เหมาะสมกับการใช้งานนั่นสามารถทำได้ไม่อยาก เพราะมีสูตรในการคำนวนเรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนอื่นเราต้องทราบข้อมูลดังต่อไปนี้เพื่อใช้ในการคำนวน
- จำนวนผู้ที่พักอาศัยหรือจำนวนผู้ใช้งานห้องน้ำ
- จำนวนการใช้น้ำของคนในแต่ละวัน ถ้าหากไม่ทราบให้ลองคำนวนจากการกดชักโครก 1 ครั้งใช้น้ำประมาณ 12 ลิตร แต่ชักโครกบางรุ่นอาจจะต่ำกว่านี้ดังนั้นให้ลองประเมินคราวๆ หากเป็นบ้านของเราเองและเราเอง อยู่บ้านใช้ห้องน้ำที่บ้านตลอดเวลา จะใช้ห้องน้ำประมาณ 5 หรือเต็มที่ 10 ครั้งต่อวัน เท่ากับใช้น้ำในห้องส้วมประมาณ 120 ลิตรต่อวัน
- ปริมาณน้ำเสีย (ร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ต่อวัน)
- เวลาที่ใช้บำบัด (เฉลี่ย 2 วัน)
สูตรการคำนวนมีอยู่ว่า จำนวนผู้อาศัย x ปริมาณน้ำเสีย หรือ 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x เวลาที่ใช้บำบัด หรือ 2 = ขนาดของตัวถัง (ลิตร )
ยกตัวอย่างเช่น มีผู้อาศัย 5 คน จะได้ ขนาดของตัวถังอยู่ที่ 5×0.8x120x2 = 1536 ลิตร หรือต้องใช้ถังขนาด 1600 ลิตร
ส้วมเต็ม ปัญหาที่เกิดจาก ถังบำบัดน้ำเสีย ถังแซก
ส้วมเต็ม นับเป็นปัญหาที่น่านักใจสำหรับทุกบ้าน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน “จุลินทรีย์ที่ใช้เป็นกระบวนการย่อยสลายของเสียที่อาศัยอยู่ใน ถังเกรอะ หรือ ถังบำบัด มีจำนวนน้อยเกินไป ทำให้ย่อยสลายกากของเสียไม่ทัน” แต่ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ส้วมเต็ม เช่น
- การใช้สารเคมีหรือน้ำยาล้างห้องน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างรุนแรงบริเวณรอบโถสุขภัณฑ์ เมื่อสารเคมีเหล่านี้หลุดลงไปในถังบำบัดน้ำเสียแทนที่จะเป็นท่อน้ำเสียเป็นจำนวนมากจนเกินไป ทำให้จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ก้นถังเกิดตายปริมาณจุลิทรีย์จึงไม่เพียงพอต่อการย่อยสลายนั่นเอง
- สาเหตุที่สองที่พบบ่อยไม่ต่างจากสาเหตุแรก คือปริมาณการใช้งานไม่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับขนาดของ ถังบำบัด ยกตัวอย่างเช่น ถังขนาด 600 ลิตร แต่กับใช้งานในโรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งมีปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมากทำให้ถังบำบัดเต็มไวจนเกิน สำหรับวิธีแก้ไขอาจต้องต่อถังเพิ่มอีกถัง หรือ ขุดถังเก่าเปลี่ยนเป็นถังใหม่ขนาดเหมาะสมกับปริมาณการใช้งาน หากเลือกซื้อถังควรศึกษาขนาดบรรจุถังว่าเหมาะสมหรือตอบโจทย์กับพื้นการใช้งานของท่านอย่างไร
- หากเลือกใช้งานขนาด ถังบำบัดสำเสียสำเร็จรูป เหมาะสมแล้ว เป็นถังชนิดเติมอากาศจุลินทรีย์ไม่น้อยแต่ยังประสบปัญหาส้วมเต็มอยู่ โดยส่วนใหญ่จะประสบสาเหตุจากการติดตั้งตั้ง เช่น
- การติดสุขภัณฑ์ไม่ถูกต้อง
- การติดตั้งท่ออากาศผิดวิธี
- การติดตั้งรางน้ำจากชักโครกมายัง ถังแซท ไม่ได้ความลาดเอียงที่เพียงพอ เกิดจากการขุดหลุมฝังถังบ่อเกรอะตื้นเกินไป
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุต่าง ๆ ที่เกี่ยงข้อง บริเวณภายนอกน้ำท่วมขังสูงทำให้ปริมาณถังเก็บของเสียเต็ม หรือ ท่อระบายอากาศมีของอุดทำให้ตัน เป็นต้น
การเลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสีย ที่ดีคืออะไร ?
- เลือกซื้อกับบริษัทขายถังโดยตรง มี SPCE และ มอก. ระบุ ให้ชัดเจน
- บริษัทที่สามารถแจ้งราคาทันที
- สามารถออกแบบขนาดของถังได้ เพื่อความเหมาะสมกับการใช้งานจริง
- มีบริการจัดส่งได้ตรงเวลา เพราะการติดตั้งถังแซทจะใช้เวลาพอควร
- สามารถเช็คระยะเวลารับประกันให้ได้อย่างชัดเจน