บ้านน็อคดาวน์ ขออนุญาตก่อสร้าง ไหม ? อย่างที่เรารู้กันว่าบ้านน็อคดาวน์เป็นบ้านที่ผลิตจากวัสดุเป็นชิ้นๆ ประกอบเสร็จจากโรงงานเสร็จสรรพ พร้อมนำไปวางตั้งเพื่อการอยู่อาศัยทันที แค่การอยู่อาศัยของบ้านน็อคดาวน์ จำเป็นต้องจดทะเบียนไหม ต้องมีการขออนุญาตหรือเปล่า มีขั้นตอนแบบไหน วันนี้มาคุยกัน
บ้านน็อคดาวน์ ถ้ายังอยู่ในโรงงานหรือยังไม่ได้นำมาติดตั้งลงพื้น ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน แต่ถ้าในการสร้างบ้านน็อคดาวน์ จำเป็นจะต้องสร้างบนพื้นที่ที่ไม่ใช่ โรงงานหรือสถานผลิต ก็ควรจะขออนุญาตในการก่อสร้างเพื่อทำตามข้อกฎหมายการปลูกสร้าง เพราะต้องทำการขอสาธารณูปโภคต่างๆ มาใช้ เพราะต้องใช้ในการอ้างอิงที่อยู่เหมือนกับบ้านปกติทั่วไป ถ้าหากลูกค้ามีบ้านอยู่แล้ว หรือ เคยสร้างบ้านน็อคดาวน์ภายในพื้นที่เดียวกัน แต่ต้องการบ้านน็อคดาวน์ไปต่อเติมเพิ่มเติม ก็ต้องคำนึงถึงกฎหมายการต่อเติมอาคารที่พักอาศัยทั่วไป
บ้านน็อคดาวน์ ขออนุญาตก่อสร้าง หรือ ใบ อ.1 มีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมอย่างไร ?
ก่อนจะปลูกสร้างบ้านหรืออาคารซักหลัง การขอใบอนุญาตก่อสร้างเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพื่อให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของบ้านจะมีความผิดตามกฎหมาย โดยสามารถเอาผิดย้อนหลังได้ !!
โดยการขอใบอนุญาตเจ้าของบ้านต้องรวมเอกสารหลักฐานและเขียนคำเรียกร้องเพื่อยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ระยะต่างๆของถนน การเว้นระยะห่างกับชุมชนรอบข้าง เพื่อความปลอดภัยและการละเมิดสิทธิ์ของผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น
เอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ?
- เอกสารสำเนาบัตรประชาชน (ผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด
- เอกสารแสดงการครอบครองที่ดิน ได้แก่ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนา นส.3 จำนวน 2 ชุด
- แบบแปลนก่อสร้างแผนผัง และรายการประกอบแบบ จำนวนอย่างละ 5 ชุด
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (ของบริษัทที่จะทำการก่อสร้าง)
เอกสารเพื่อประกอบการพิจรณาเฉพาะเรื่อง
- หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดิน (กรณีสร้างอาคารในที่ดินของผู้อื่น)
- ใบยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีสร้างอาคารในที่ดินของผู้อื่น)
- ใบยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดที่ดิน
- ใบรับรองของสถาปนิก
- ใบรับรองของวิศวกร
- ใบควบคุมงานของสถาปนิก
- ใบควบคุมงานของวิศวกร
- หลักฐานแสดงที่ดินใกล้เคียง (ในกรณีที่ใช้ผนังร่วมกัน หรือสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดิน)
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง
ข้นตอนการขอใบอนุญาตก่อสร้าง
- เริ่มต้นจากการรวบรวมเอกสารที่มีความจำเป็น และเขียนคำร้อง แล้วยื่นต่อเจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตในท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้ควรยื่นเอกสารที่มีความจำเป็นมาอย่างครบถ้วน เพื่อยื่นให้ทางเจ้าพนักงานได้รับไปตรวจสอบ และพิจารณาตามความเหมาะสม หากเอกสารที่ยื่นมาไม่ครบถ้วน อาจจะส่งผลให้ไม่ผ่านการพิจารณา
- เจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตประจำท้องถิ่น จะตรวจสอบแบบแปลน โดยในพื้นที่ที่ได้มีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้าน หรืออาคาร จะต้องมีการอนุญาตจากทางการ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน และอาคาร โดยจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น
- หลังจากมีการตรวจสอบคำร้อง เอกสารต่าง ๆ รวมถึงแบบแปลนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ยื่นคำร้องก็จะได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร อาจจะต้องมีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วน ผู้ยื่นคำร้องจะต้องไปแก้ไขตามที่ทางเจ้าพนักงานได้แจ้ง และเมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำเอกสาร และคำร้องมายื่นต่อเจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตในท้องถิ่นใหม่อีกครั้ง
- เมื่อผู้ยื่นคำร้องได้รับใบอนุญาตแล้ว นอกจากจะเก็บเอกสารฉบับจริงไว้แล้ว ควรทำสำเนาเก็บไว้ด้วย เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดการสูญหาย หรือเอกสารชำรุด จากนั้นให้ทางวิศวกร ผู้รับเหมา หรือบริษัทรับก่อสร้างบ้าน ได้ดำเนินงานก่อสร้างบ้านต่อไป