โกดัง สำเร็จรูป
- smart home (6)
- กระเบื้องยาง (51)
- กระเบื้องยาง LVT (2)
- กระเบื้องยาง SPC (3)
- กระเบื้องยาง ลายปูนขัด (4)
- กระเบื้องยาง ลายพรม (1)
- กระเบื้องยาง ลายหินอ่อน (3)
- กระเบื้องยาง ลายไม้ (11)
- กระเบื้องยาง สีพื้น (7)
- กระเบื้องยางม้วน (9)
- กาวปูกระเบื้องยาง (8)
- จมูกบันได กระเบื้องยาง PVC (2)
- ตัวจบกระเบื้องยาง (6)
- บัวเชิงผนังกระเบื้องยาง (8)
- อุปกรณ์ทำความสะอาด (1)
- กาว (16)
- ของแต่งบ้าน (29)
- ของใช้ในครัว (7)
- บ้านสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง (16)
- ปูน ซีเมนต์ (21)
- ผนัง (30)
- พรม ปูพื้น ปูห้อง (2)
- พื้น (7)
- รั้วเมทัลชีท (3)
- สมาร์ทบอร์ด ซีเมนต์บอร์ด (10)
- สี และ อุปกรณ์ทาสี (7)
- หลังคา (2)
- อิฐ (12)
- อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง (2)
- อุปกรณ์ห้องน้ำ (5)
- อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ (6)
- เครื่องมือช่าง (5)
- เครื่องใช้ไฟฟ้า (28)
- เทคโนโลยีสำหรับบ้าน อาคาร (7)
- เหล็ก (1)
- โซล่าเซลล์ (5)
- ไฟเบอร์กลาส และ วัสดุ PE (8)
- ไม้เทียม (85)
โกดัง น็อคดาวน์ โรงงาน สำเร็จรูป
โรงงาน สำเร็จรูป คลังสินค้า น็อคดาวน์
โกดัง สำเร็จรูป ใช้วัสดุอะไรในการก่อสร้าง ?
โกดังสินค้า สำเร็จรูป หรือ คลังสินค้า ที่เราพบเห็นได้ทั่วไป หากลองสังเกตุดี ๆ จะพบว่าลักษณะของการก่อสร้างของอาคารประเภทนี้จะไม่ใช้อิฐในการก่อหรือปูนในการฉาบเหมือนการก่อสร้างบ้านทั่วไปเลย นั้นก็เพราะการก่อสร้างโกดังส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นอาคารชั่วคราวเท่านั้น อาจจะมีการเช่าพื้นที่เพื่อทำโกดังตามระยะเวลาที่ตกลงกันของผู้เช่าและเจ้าของที่ อาจจะเริ่มต้นเช่า 10 ปีแล้วต่อสัญญาขยับขยายเพิ่มเติมต่อไปหรือหากสัญญาครบตามกำหนดก็จบสัญญาเช่ากันไป ดังนั้นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างต้องสามารถรื้อถอนออกได้โดยง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องมีความแข็งแรงทนทานระหว่างใช้งานไม่แพ้การก่อสร้างด้วยอิฐหรือปูนด้วย สำหรับการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปได้รับความนิยมในต่างประเทศมาก ๆ ในไทยก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คลังสินค้าขนส่งเอกชนชื่อดังหลายเจ้า
ส่วนประกอบของ โกดังสำเร็จรูป
วัสดุในการก่อสร้างโกดังจะใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่ต้องมีอายุการใช้งานยาวนาน คงทนแข็งแรง ลักษณะการก่อสร้างจะใช้ระบบน็อคดาวน์ มีทั้งเชื่อมเหล็กด้วยลวดและขันประกอบ การก่อสร้างประเภทนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างรวดเร็วกว่าการก่ออิฐฉาบปูนหลายเท่า ทำให้คุณได้โกดังในเวลา 15 – 45 วัน สำหรับวัสดุที่ใช้ก่อสร้างโกดัง คลังสินค้า มีอะไรบ้าง
- เหล็กไวด์แฟรงค์ เป็นเหล็กสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป ในการนำมาใช้ก่อสร้างโกดังสำเร็จรูปจะใช้เหล็กไวด์แฟรงค์แทนงานคอนกรีตทั้งในส่วนของ เสา คาน โครงหลังคา ฯลฯ มีน้ำหนักเบาคอนกรีตและรับแรงจากแนวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถดัดโค้งงอให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการได้
- เหล็กกัลวาไนซ์ เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดสนิมได้อย่างดีเยี่ยมและทนต่อการกัดกร่อนต่อทุกสภาวะอากาศ ตัวเหล็กมีน้ำหนักเบา สำหรับการก่อสร้างโกดังจะใช้เหล็กในการทำโครงหลังค
- แปหลังคา / แปผนัง ลักษณะการสร้างหลังคาของโกดังสำเร็จรูปมีลักษณะเป็นแบบเดียวกับการสร้างบ้านหรืออาคารทั่วไปเลย ต้องใช้แปหลังคาวางเรียงบนโครงสร้างหลังคาเพื่อรองรับน้ำหนักของแผ่นหลังคา นอกจากนี้ตัวแปหลังคายังสามารถรองรับน้ำหนักของช่างที่ขึ้นไปติดตั้งหรือซ่อมแซมหลังได้อีกด้วย ในส่วนของแปผนังก็เช่นใช้ติดตั้งที่โครงสร้างผนังเพื่อรองรับแผ่นผนังที่จะนำมาติดตั้งอีกชั้นนึ
- หลังคาและผนังเมทัลชีท เมทัลชีทเป็นแผ่นโลหะรีดลอน ผสมด้วยสังกะสี และอลูมิเนียม เป็นแผ่นที่มีน้ำหนักเบากักเก็บความร้อนไว ขณะเดียวกันก็คลายความร้อนได้ไวและดีกว่าเหล็กทั่วไป เมทัลชีทที่นำมาใช้ทำหลังคาส่วนใหญ่จะใช้แบบคลิปล็อค ไม่ยึดสกรูติดที่ตัวแผ่นแต่จะยิงยึดติดที่ตัว connector แทน ทำให้ป้องกันปัญหาการรั่วซึมได้ดี
- บานเกล็ดเมทัลชีท ในส่วนของการก่อสร้างอาคาร การทำให้บรรยากาศภายในถ่ายเทไม่ร้อนจนเกินไปจะต้องมีส่วนที่ระบายอากาศออกจากตัวอาคาร การก่อสร้างโกดังหรือทำคลังสินค้าส่วนใหญ่จะใช้บานเกล็ดที่ทำมาจากเมทัลชีทชนิดเรีย
- ประตู ประตูที่ใช้ในการก่อสร้างโกดังส่วนใหญ่จะใช้ประตูเลื่อนหรือประตูม้วนไฟฟ้า ด้วยเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักไม่มาก ขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัยสูง แตกหักหรือถูกทำลายยาก ป้องกันการถูกนิรภัยมากว่าประตู PVC
พรบ. โรงงานฉบับแก้ไข 2562 เปลี่ยนอะไรบ้าง? ส่งผลกับ โรงงาน อย่างไร?
การปรับเปลี่ยน พรบ. โรงงานฉบับแก้ไข พ.ศ. 2562 นี้มีการยืดหยุ่นข้อกำหนดเดิมหลาย ๆ ข้อ เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานประกอบธุรกิจกันได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ที่จะประกอบกิจการได้สะดวก รวดเร็ว คล่องตัว และลดภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนโรงงานขนาดเล็กหรือผู้ประกอบรายใหม่ ๆ จะเริ่มประกอบกิจการง่ายขึ้น ขณะที่ภาคประชาชนยังได้รับความคุ้มครองจากข้อบังคับการควบคุมดูแลโรงงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดเล็ก โรงงานขนาดใหญ่ โรงงานถาวร หรือ โรงงานสำเร็จรูป เช่นเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง สำหรับ พรบ. โรงงานฉบับแก้ไข มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง มารับชมรับฟังพร้อมกันได้เลย
- ขอบเขต คำว่า โรงงาน เปลี่ยนขอบเขตความหมายการเป็นโรงงานจากเดิมที่มีเครื่องจักร 5 แรงม้า หรือคนงาน 7 คน เปลี่ยนเป็นต้องมีเครื่องจักร 50 แรงม้า หรือคนงาน 50 คน จึงจะนับว่าประกอบประกอบธุรกิจประเภทโรงงาน การปรับเปลี่ยนขอบเขตโรงงานทำให้ผู้ประกอบโรงงานขนาดเล็ก หรือ ผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) โรงงานขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการโรงงานรายใหม่ ที่โรงงานมีเครื่องจักรไม่ถึง 50 แรงม้า หรือคนงานไม่ถึง 50 คน จึงยังมิใช่โรงงาน สามารถประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ในส่วนของผู้ประกอบการโรงงานเดิมที่มีใบอนุญาตไม่ต้องต่อใบอนญาต
- ผู้ตรวจสอบ โรงงานสำเร็จรูป การตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักร สามารถให้ผู้ตรวจสอบเอกชนที่มีใบอนุญาตตรวจสอบหรือใบรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้ตรวจสอบโรงงานแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ โดยให้ผู้ตรวจสอบเอกชนจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่สืบต่อไป
- ผู้ประกอบกิจการต้องมีการรับรองตนเอง (Self-declared) ผู้ประกอบการโรงงานต้องเป็นผู้รับรองตนเอง ว่าทางโรงงานได้มีการปฎิบัติถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับ ทั้งเรื่องความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม สารเคมี วัตถุอันตราย การซ่อมแผนประจำปี ฯลฯ หากมีการเรียกตรวจสอบย้อนหลังทางผู้ประกอบการจะต้องชี้แจงได้
โกดัง น็อคดาวน์ ที่ใช้ทำ คลังสินค้า มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
โกดัง น็อคดาวน์ หรือ คลังสินค้าที่เราพบเห็นทั่วไปส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่จะใช้จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ เพื่อรอนำมาใช้งานต่อ หรือรอจำหน่ายกระจายสินค้าแก่ผู้บริโภค ซึ่งก็มีการแบ่งประเภทของคลังสินค้าออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป วันนี้จะพามาทำความเข้าใจกับประเภทคลังสินค้าเพื่อให้คุณได้เลือกใช้บริการคลังสินค้าได้อย่างเหมาะสม หรือนำไปต่อยอดทำเป็นธุรกิจให้เช่าบริการคลังสินค้า
1. ประเภทของคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะธุรกิจ
1.1 คลังสินค้าสาธารณะ
เป็นลักษณะของพื้นที่จัดเก็บ ฝากสินค้าที่ไม่ได้มีสินค้าของเราเพียงชิ้นเดียว ระยะเวลาและพื้นที่ในการเช่าขึ้นอยู่กับสัญญาที่ได้ตกลงทำร่วมกันของผู้เช่าและผู้ให้บริการเช่าคลังสินค้า
- ข้อดี ของคลังประเภทนี้คือทางผู้ให้บริการมีความชำนาญและความพร้อมในการรับฝากจัดเก็บสินค้าสูง หากเป็นการจัดเก็บระยะสั้นจะคุ้มค่ากับเงินลงทุนกว่าระยะยาว
- ข้อเสีย เนื่องจากไม่ได้มีสินค้าเราเพียงเจ้าเดียวบางช่วงอาจจะมีพื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ หรือหากต้องการจัดเก็บในส่วนของสินค้าล็อตที่ 2 อาจจะต้องใช้บริการคลังสินค้าเจ้าอื่น ซึ่งเพิ่มความยากลำบากในการประสานงานขึ้นไปอีก
1.2 คลังสินค้าส่วนตัว
เป็นคลังสินค้าที่จัดเก็บสินค้าเราเพียงชนิดเดียว สามารถบริหารจัดการพื้นที่ภายในได้อย่างอิสระ อาจเป็นคลังสินค้าที่สร้างหรือเช่าเองก็ได้
- ข้อดี การประสานงานภายในทำให้การจัดการในจัดเก็บเบิกออกมาใช้งานง่ายกว่าการเช่าผ่านเอกชน การลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าเองในระยะยาวจะมีความคุ้มทุน สามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณการใช้งานง่าย
- ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในส่วนของการลงทุนก่อสร้างหรือเช่าเป็นเจ้าของคลังสินค้าแต่เพียงผู้เดียวสูง และยังมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรง ค่าอุปกรณ์ เครื่องมือเพิ่มเข้ามา คลังจัดดเก็บสินค้าบางประเภทที่ต้องดูแลเป็นพิเศษอาจต้องใช้ความชำนาญทักษะและอุปกรณ์ที่พร้อม
2. คลังสินค้าแบ่งตามประเภทลักษณะงาน
2.1 คลังสินค้าประเภทศูนย์กระจายสินค้า
ลักษณะคลังสินค้าประเภทนี้จะเป็นคลังที่ทำหน้าที่จัดเก็บสินค้าและกระจายสินค้าไปยังผู้รับแทนเรา โดยเราไม่ต้องทำหน้าที่สต็อกสินค้าจำนวนมาก
- ข้อดี ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการขนส่ง มีความรวดเร็ว
- ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดส่งจากผู้ผลิตจะถูกผลักออกไปที่ผู้รับสินค้า
2.2 คลังสินค้าประเภทศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า
ลักษณะคล้ายคลังสินค้าประเภทศูนย์กระจายสินค้าแต่จะแตกต่างกันตรงที่คลังสินค้าประเภทนี้เป็นเพียงจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าเท่านั้น รับและส่งออกรวดเร็ว มีระยะเวลาจัดเก็บที่สั้นไม่เกิน 24 ชม.
2.3 คลังสินค้าประเภท Fulfilment Center
คลังสินค้าแนวใหม่ที่รวมบริการไว้ถึง 3 แบบในคราวเดียว ส่วนใหญ่นิยมใช้สำหรับธุรกิจ e-commerce เนื่องจากสะดวกกับร้านค้าปลีก ทั้งพื้นที่จัดเก็บสินค้าที่ทางคลังสินค้า Fulfilment Center มีให้ บริการแพ็คบรรจุสินค้าและการจัดส่งสินค้า ทางร้านค้าปลีกเพียงหารายการคำสั่งซื้อและส่งสินค้ามาสต็อกใน Fulfilment Center เท่านั้น
- ข้อดี สะดวกสบายและประหยัดเวลาในส่วนของการบรรจุสินค้า การจัดส่งและกระบวนการจัดการคลังสินของทางเจ้าของร้านค้า
- ข้อเสีย มีค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าเป็นรายเดือนและค่าจิปาถะอื่น ๆ หากธุรกิจ e-commerce มีรายการสั่งซื้อจำนวนน้อยการใช้งานคลังสินค้าประเภทนี้ก็อาจไม่คุ้มทุนเท่าไหร่ แต่หากมีออเดอร์คำสั่งซื้อเข้ามาเยอะและต้องการลดระยะเวลาการทำงานหลังบ้าน เพื่อโฟกัสกับการหาลูกค้าใหม่ ๆ และการขายก็ถือว่าไม่เลวทีเดียว
การก่อสร้างโกดัง คลังสินค้าส่วนตัวก็ใช้เงินลงทุนไม่น้อย การเลือกใช้บริการเช่าคลังสินค้าก็อาจเป็นทางออกสำหรับบางธุรกิจที่จำเป็นต้องสต็อดของ แอดมินหวังว่าข้อมูลความรู้ที่นำมาเผยแพร่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกใช้งานคลังสินค้าได้อย่างถูกต้องและเป็นผลดีต่อธุรกิจของคุณ