All Categories
- smart home (6)
- กระเบื้องยาง (51)
- กระเบื้องยาง LVT (2)
- กระเบื้องยาง SPC (3)
- กระเบื้องยาง ลายปูนขัด (4)
- กระเบื้องยาง ลายพรม (1)
- กระเบื้องยาง ลายหินอ่อน (3)
- กระเบื้องยาง ลายไม้ (11)
- กระเบื้องยาง สีพื้น (7)
- กระเบื้องยางม้วน (9)
- กาวปูกระเบื้องยาง (8)
- จมูกบันได กระเบื้องยาง PVC (2)
- ตัวจบกระเบื้องยาง (6)
- บัวเชิงผนังกระเบื้องยาง (8)
- อุปกรณ์ทำความสะอาด (1)
- กาว (16)
- ของแต่งบ้าน (29)
- ของใช้ในครัว (7)
- บ้านสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง (16)
- บ้านสำเร็จรูป อาคารสำเร็จรูป (67)
- ผนัง (30)
- พรม ปูพื้น ปูห้อง (2)
- พื้น (7)
- รั้วเมทัลชีท (3)
- สมาร์ทบอร์ด ซีเมนต์บอร์ด (10)
- สี และ อุปกรณ์ทาสี (7)
- หลังคา (2)
- อิฐ (12)
- อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง (2)
- อุปกรณ์ห้องน้ำ (5)
- อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ (6)
- เครื่องมือช่าง (5)
- เครื่องใช้ไฟฟ้า (28)
- เทคโนโลยีสำหรับบ้าน อาคาร (7)
- เหล็ก (1)
- โซล่าเซลล์ (5)
- ไฟเบอร์กลาส และ วัสดุ PE (8)
- ไม้เทียม (85)
ปูน ซีเมนต์
ปูน คืออะไร ปูนหรือ ซีเมนต์ที่เราเห็นบรรจุภัณฑ์เป็นถุง ๆ ที่สามารถพบเห็นได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป ตัวซีเมนต์จะมีลักษณะเป็นผง ๆ เป็นวัสดุที่เป็นส่วนประกรอบในการนำไปทำโครงสร้าง ทำฐานราก ทำผนัง หรือใช้ในงานซ่อมแซม ซึ่งผงซีเมนต์เกิดจากการนำดินเหนียว กับ หินปูน ผสมกันแล้วนำไปเผาด้วยความร้อนสูง จากนั้นก็นำไปบดละเอียดจนกลายเป็นผงซีเมนต์ ซีเมนต์ที่ดีจะต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า มอก. รับรอง
ประเภทปูน ที่ได้รับความนิยม
- ปูนกาว กาวซีเมนต์
- ปูนปรับระดับ ปรับพื้น
- ซีเมนต์ซ่อมแซม
- น้ำยาประสานคอนกรีต น้ำยารองพื้น
- ซีเมนต์กันซึม
สินค้าปูน แบ่งตามหมวดหมู่
คอนกรีต กับ ซีเมนต์ ต่างกันอย่างไร
หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการหรือมีความรู้ด้านงานก่อสร้างอาจจะสับสนว่า คอนกรีต กับ ซีเมนต์ ไม่ใช่วัสดุชนิดเดียวกันหรอ แอดมินต้องบอกตรงนี้เลยว่าไม่ใช่ เพราะ ซีเมนต์เป็นส่วนย่อยของคอนกรีต พื้นปูนที่เราเดินกันอย่างทุกวันนี้ความจริงแล้วต้องเรียกว่า พื้นคอนกรีต แต่คนส่วนใหญ่จะติดปากเรียกว่า พื้นปูน ซึ่งก็ไม่ผิดนักเพราะในการทำพื้นคอนกรีตต้องใช้ปูนหรือซีเมนต์ผสมกับทราย หิน และน้ำ เพื่อให้ได้พื้นที่มีความแน่นหนา ความแข็งแรง และรองรับแรงอัดได้สูง สรุปตามส่วนผสม ซีเมนต์+น้ำ = ปูนเค็ม ซีเมนต์ + น้ำ + ทราย ปูนทราย หรือมอลต้า ซีเมนต์ + ทราย + หิน ( อัตราส่วน 1:3:5 ) + น้ำ = รีน ซีเมนต์ + ทราย + หิน (อัตราส่วน 1:2:4) + น้ำ = คอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีกี่ประเภท
ซีเมนต์มีทั้งหมด 7 ประเภท แต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัวและเหมาะกับงานบางประเภทเท่านั้น ประเภทไหน เหมาะกับงานลักษณะไหนบ้างมาดูกันเลย- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) ใช้ในงานช่างทั่วไป คอนกรีตเสริมเหล็ก เสา สะพาน ถนน งานบ้าน งานโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement) เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพาน ตอม่อ ตึก ฯลฯ คงทนต่อด่างมากกว่าประเภทที่ 1
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูงเร็ว ( High Early Strength Portland Cement) เนื้อมีความละเอียดที่มาก แข็งตัวได้เร็ว เหมาะกับงานก่อสร้างเร่งด่วน ที่จำกัดเวลา
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low Heat Portland Cement) เกิดความร้อนในการแข็งตัวน้อย ทำให้เกิดรอยแตกรอยร้าวได้ยาก เหมาะกับการใช้งานเขื่อนกั้นน้ำ
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภททนซัลเฟตสูง (Sulfate Resistance Portland Cement) เหมาะใช้งานบริเวณที่มีด่างสูง เช่น พื้นที่ใกล้ทะเล บริเวณที่มีดินเค็ม
- ปูนซีเมนต์ผสม เหมาะกับงาน ปูนก่อ ปูนฉาบ ปูนตกแต่ง งานโครงสร้างขนาดเล็ก
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดสีขาว เนื้อปูนสีขาว สามารถผสมสีได้ ใช้กับงานตกแต่ง
4 ขั้นตอน เทปูนซีเมนต์ บนพื้นดินด้วยตัวเอง
- ขั้นตอนที่หนึ่ง การเตรียมหน้าดิน ปรับหน้าดินให้ได้ระดับ เรียบเสมอกัน บดอัดเนื้อดินให้แน่น หลังจากนั้นทำควาสะอาด กำจัดวัชพืชและเศษขยะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศหลังเทคอนกรีตเสร็จ อย่าลืมลดระดับหน้าดินเผื่อความหนาของหินและทราย จากนั้นเททรายรองพื้นให้ได้ความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร
- ขั้นตอนที่สอง เตรียมแบบหล่อคอนกรีตที่แข็งแรง สามารถใช้ได้ทั้งไม้และเหล็ก โดยตั้งค้ำยันไว้ให้มั่นคงแข็งแรง
- ขั้นตอนที่สาม ใช้เหล็กเสริมคอนกรีตเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานและเป็นตัวยึดเกาะคอนกรีตไว้ด้วยกัน ป้องกันไม่ให้คอนกรีตยืดหด จากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลดโอกาสคอนกรีตแตกหรือร้าว
- ขั้นตอนที่สี่ คือการเลือกใช้ปูนซีเมนต์ที่ต้องเหมาะสมกับงานนั้น ๆ ข้อนี้สำคัญมากเพราะปูนซีเมนต์แต่ละชนิดเหมาะกับงานที่แตกต่าง หากเลือกผิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อัตราส่วนการผสมซีเมนต์ที่เหมาะกับพื้นคือ ปูนซีเมนต์ 1 : ทราย 2 : หิน 4